- ต้องการให้ลดระยะเวลา ขั้นตอนการให้บริการออกหนังสือสำคัญฯ
- เพิ่มเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการออกหนังสือสำคัญการส่งออก – นำเข้าสินค้า |
๑. การยกระดับการอำนวยความสะดวกในการออกหนังสือสำคัญ การส่งออก – นำเข้าสินค้าด้วยนวัตกรรมดิจิทัล (Digitalization)
๑.๑ การส่งเสริมและผลักดันให้ผู้ประกอบการที่มีความพร้อมยื่นคำขอหนังสือสำคัญฯ ด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) ทั้งในรูปแบบ XML File และผ่านเว็บไซด์กรมฯ โดยการจัดฝึกอบรม/สัมมนาให้ผู้ประกอบการทั้งส่วนกลาง และภูมิภาคไปแล้วไม่ต่ำกว่า 8 ครั้งในช่วงปีงบประมาณ 2560 ถึงปัจจุบัน
๑.๒ การให้บริการออกใบอนุญาต/หนังสือรับรองการส่งออก – นำเข้าสินค้า แบบ Paperless สำหรับ ๒ กลุ่มสินค้าหลัก ดังนี้ ๑) กลุ่มสินค้าส่งออก ได้แก่ ไม้/ไม้แปรรูป ถ่านไม้ ถ่านหิน โพแทสเซียมเพอร์แมงกาเนต กากถั่วเหลือง เมล็ดกาแฟ และผลิตภัณฑ์กาแฟหรือกาแฟสำเร็จรูป ๒) กลุ่มสินค้าเกษตรนำเข้าภายใต้ WTO/AFTA/FTA อื่นๆ ๒๑ รายการ
๑.๓ การพัฒนาและให้บริการด้วยระบบ Digital Signature : DS /Electronic Signature and Seal : ESS 100% โดยยกเลิกระบบดั้งเดิม (EDI) สำหรับ FORM C/O ๕ ประเภท คือ FORM JTEPA, FORM AANZ, FORM AJCEP, FORM AK และ FORM FTA Thai – Australia (เฉพาะส่งออกไปญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย)
๑.๔ การปรับปรุงขั้นตอนการยื่นขอรับหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า โดยการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานภายในกรมฯ เพื่อลดการแนบเอกสารที่ต้องแสดง |
- ต้องการให้ปรากฏลายมือชื่อของกรรมการบนแบบพิมพ์หนังสือรับรองฯ
- ไม่สามารถนำตราประทับนิติบุคคลติดตัวมาติดต่อขอรับบริการกับกรมฯ |
๒. การพัฒนาระบบการให้บริการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า ด้วยลายมือชื่อและตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature and Seal : ESS)
|
- เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ |
๓. โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณหน้าห้องสำนักบริการกรมการค้าต่างประเทศ สนามบินน้ำ เพื่อให้สะอาดมีพื้นที่สำหรับผู้มาติดต่อ และโครงการปรับปรุงตกแต่งภายในอาคารสำนักบริการการค้าต่างประเทศ ถ.รัชดาภิเษก กรุงเทพฯ
|
- ปรับปรุงสถานที่ให้บริการของศูนย์ DFT Center ชั้น ๓ อาคารกรมการค้าต่างประเทศ เนื่องจากคับแคบ และมีเสียงรบกวนซึ่งกันและกันระหว่างทางโทรศัพท์กับเดินทางมาสอบถามด้วยตนเอง |
๔. โครงการจัดหาพื้นที่และปรับปรุงการให้บริการ DFT Center |
- มาตรฐานการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าให้เป็นมาตรฐานเดียวกันของทุกหน่วยงาน |
๕. การจัดทำคู่มือการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า สำหรับเจ้าหน้าที่
๖. การจัดสัมมนา/ฝึกอบรมทบทวนขั้นตอน/แนวปฏิบัติในการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
๗. การจัดประชุมหารือทบทวนและกำหนดแนวปฏิบัติในการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าเป็นประจำทุกปี
|