เปลี่ยนการแสดงผล

ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP)

 

       ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) เป็นความตกลงการค้าเสรี หรือ FTA ฉบับที่ 14 ของประเทศไทย นับเป็นสัญญาการค้าขนาดใหญ่ ที่ครอบคลุมราวร้อยละ 30 ของ GDP โลก ซึ่งอาเซียนเสนอเพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศสมาชิกและการค้ากับพันธมิตรในข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ประกอบด้วยสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม พร้อมด้วยคู่ค้าอาเซียนอีก 5 ประเทศ อันได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และเกาหลีใต้ โดยมีจุดมุ่งหมายในการขจัดอุปสรรคทางการค้าและส่งเสริมการลงทุน เพื่อช่วยให้ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ก้าวทันประเทศอื่นในโลกได้ โดย RCEP พัฒนามาจากแนวคิด ASEAN+3 / ASEAN+6 ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของอาเซียนภายใต้ AEC Blueprint ที่อาเซียนต้องการรักษาบทบาทในการเป็นแกนกลาง (ASEAN Centrality) ขับเคลื่อนการรวมกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่ขึ้นในภูมิภาค โดยเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2563 รัฐมนตรี RCEP 15 ประเทศร่วมลงนามในความตกลง RCEP ในการประชุมสุดยอด RCEP (RCEP SUMMIT) ครั้งที่ 4 ผ่านระบบการประชุมทางไกล

     RCEP ใช้ระยะเวลาในการเจรจายาวนานถึง 8 ปี โดยเริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ.2012 ที่ความตกลงฯ ถูกนำเสนอขึ้นมาโดยมีเป้าหมายเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจเชิงลึกระหว่าง 16 ประเทศเอเชีย-แปซิฟิก และได้มีการประชุม เจรจากันหลายครั้ง จนกระทั่งสามารถหาข้อสรุปและประเทศภาคีร่วมลงนามกันเมื่อปี ค.ศ. 2020

ASEAN (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)

RCEP (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)




** ประเทศที่สามารถส่งออกเพื่อรับสิทธิยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากร

ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค

(Regional Comprehensive Economic Partnership Agreement: RCEP)


1. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป ได้แก่

 1)    บรูไนดารุสซาลาม  
 2) ราชอาณาจักรกัมพูชา                       3) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
 4)     สาธารณรัฐสิงคโปร์             5) ราชอาณาจักรไทย                6) สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
 7)    เครือรัฐออสเตรเลีย
 8) สาธารณรัฐประชาชนจีน  9) ประเทศญี่ปุ่น

10)   ราชอาณาจักรนิวซีแลนด์             


2. ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป ได้แก่

  สาธารณรัฐเกาหลี



3. ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป ได้แก่

   ประเทศมาเลเซีย


**เปรียบเทียบอัตราภาษีนำเข้าภายใต้ FTA ต่างๆ (คลิก)

 

                               การพิจารณา RCEP Country of Origin สำหรับความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค
                                            (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP)

ที่มาของการระบุ RCEP Country of Origin

     เนื่องจากความตกลง RCEP ประกอบด้วยประเทศสมาชิกที่มีระดับการพัฒนาที่แตกต่างกัน รวมทั้งเป็นความตกลงการค้าเสรีฉบับแรกที่บางประเทศสมาชิกมีร่วมกัน เช่น จีนและญี่ปุ่น เป็นต้น ส่งผลให้ประเทศสมาชิกไม่อาจทำการเปิดตลาดให้แก่ประเทศสมาชิกอื่นๆ อย่างเท่ากันได้ ส่งผลให้การนำเข้าสินค้าชนิดเดียวกันจากประเทศสมาชิกหนึ่ง อาจได้รับสิทธิประโยชน์จากประเทศผู้นำเข้าแตกต่างจากสินค้าที่นำเข้าจากอีกประเทศสมาชิกได้ ด้วยเหตุนี้ความตกลง RCEP จึงมีการกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมขึ้นมาเพื่อใช้ในการพิจารณาว่าสินค้าที่จะถูกส่งออกจะสามารถได้รับถิ่นกำเนิดของประเทศผู้ส่งออกในการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรหรือไม่ เพื่อป้องกันการหลบเลี่ยงอัตราภาษีที่สูงกว่าของประเทศหนึ่งในการส่งออกสินค้า ด้วยการไปดำเนินกระบวนการผลิตที่เล็กน้อยในประเทศที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีดีกว่า โดยประเทศสมาชิก RCEP ที่มีการเปิดตลาดที่แตกต่างกันประกอบด้วย 7 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และ เวียดนาม

การพิจารณา RCEP Country of Origin (Article 2.6 of the RCEP Agreement)

    1. สินค้าต้องเป็นสินค้าที่ได้ถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลง RCEP ไม่ว่าจะด้วยเกณฑ์ WO PE หรือ PSR (CTC RVC CR)กรณีที่สินค้าอยู่ในเอกสารแนบท้ายของตารางข้อผูกพันทางภาษี (Appendix) ของประเทศผู้นำเข้า* สินค้าต้องมีกระบวนการผลิตที่ผ่านเงื่อนไขเพิ่มเติมตามที่กำหนด คือ มีสัดส่วนมูลค่าการผลิตในประเทศผู้ส่งออกไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 (คำนวณรูปแบบเดียวกับ RVC แต่นับได้เฉพาะวัตถุดิบที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยเท่านั้น ไม่นับรวมวัตถุดิบที่ได้ถิ่นกำเนิดจากประเทศสมาชิกอื่นด้วย) หากสินค้าสัดส่วนมูลค่าการผลิตไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 RCEP Country of Origin ของสินค้า คือ ประเทศผู้ส่งออก หากน้อยกว่า ให้ระบุ RCEP Country of Origin
ตามข้อ 5
(Article 2.6.3)

     * ประเทศที่มีเอกสารแนบท้ายของตารางข้อผูกพันทางภาษี (Appendix) ประกอบด้วย ประเทศที่มีการเปิดตลาดสินค้าที่แตกต่างกัน 7 ประเทศเท่านั้น โดยแต่ละประเทศจะมีการกำหนดรายการสินค้าไม่เกิน 100 รายการ

     2. กรณีที่สินค้าได้ถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยเกณฑ์ PE จะต้องพิจารณาเพิ่มเติมว่า สินค้ามีกระบวนการผลิตที่เกินกว่ากระบวนการอย่างง่าย (Minimal Operation) หรือไม่ หากเกินกว่า Minimal Operation RCEP Country of Origin ของสินค้า คือ ประเทศผู้ส่งออก หากเป็นเพียง Minimal Operation ให้ระบุ RCEP Country of Origin ตามข้อ 4 (Article 2.6.2)

     3.   กรณีที่ไม่สามารถใช้ RCEP Country of Origin ของประเทศผู้ส่งออก ตามข้อ 2 หรือ ข้อ 3 ได้ ให้ RCEP Country of Origin เป็นประเทศที่มีสัดส่วนของวัตถุดิบที่ได้ถิ่นกำเนิดในกระบวนการผลิตสูงที่สุด

     4.   กรณีที่สินค้าไม่อยู่ในเอกสารแนบท้ายของตารางข้อผูกพันทางภาษี (Appendix) และได้ถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยเกณฑ์ WO หรือ PSR การระบุ RCEP Country of Origin ของสินค้า คือ ประเทศผู้ส่งออก (Article 2.6.2)

     5.   ทั้งนี้ หากไม่ต้องการพิสูจน์ตามเงื่อนไขในข้อ 2 และ 3 หรือไม่สามารถพิสูจน์ได้ หรือไม่ต้องการระบุประเทศที่ได้ถิ่นกำเนิดสินค้าตามข้อ 2 3 4 และ 5 ด้วยความยินยอมของผู้นำเข้า ผู้ส่งออกสามารถเลือกที่จะระบุประเทศที่ได้ถิ่นกำเนิดสูงสุดที่ประเทศผู้นำเข้าเรียกเก็บภาษีสำหรับสินค้า ได้ ตามกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนี้ (Article 2.6.6)

   (ก) ประเทศสมาชิกภายใต้ความตกลงการเป็นหุ้นส่วนระดับภูมิภาค (RCEP) ที่มีการนำวัตถุดิบที่ได้ถิ่นกำเนิดในภาคีสมาชิกภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) มาใช้ในกระบวนการผลิตในประเทศผู้ส่งออกพร้อมทั้งเครื่องหมาย “*” หลังชื่อประเทศ หรือ

    (ข) ประเทศสมาชิกภายใต้ความตกลงการเป็นหุ้นส่วนระดับภูมิภาค (RCEP) ที่ประเทศผู้นำเข้าเรียกเก็บอากรในอัตราสูงสุดสำหรับการนำเข้าสินค้าดังกล่าวภายใต้ความตกลงการเป็นหุ้นส่วนระดับภูมิภาค (RCEP) พร้อมทั้งเครื่องหมาย “**”หลังชื่อประเทศ

 

 เอกสารแนบท้ายของตารางข้อผูกพันทางภาษี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
   
         
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 เอกสารแนบ

 

       ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) เป็นความตกลงการค้าเสรี หรือ FTA ฉบับที่ 14 ของประเทศไทย นับเป็นสัญญาการค้าขนาดใหญ่ ที่ครอบคลุมราวร้อยละ 30 ของ GDP โลก ซึ่งอาเซียนเสนอเพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศสมาชิกและการค้ากับพันธมิตรในข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ประกอบด้วยสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม พร้อมด้วยคู่ค้าอาเซียนอีก 5 ประเทศ อันได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และเกาหลีใต้ โดยมีจุดมุ่งหมายในการขจัดอุปสรรคทางการค้าและส่งเสริมการลงทุน เพื่อช่วยให้ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ก้าวทันประเทศอื่นในโลกได้ โดย RCEP พัฒนามาจากแนวคิด ASEAN+3 / ASEAN+6 ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของอาเซียนภายใต้ AEC Blueprint ที่อาเซียนต้องการรักษาบทบาทในการเป็นแกนกลาง (ASEAN Centrality) ขับเคลื่อนการรวมกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่ขึ้นในภูมิภาค โดยเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2563 รัฐมนตรี RCEP 15 ประเทศร่วมลงนามในความตกลง RCEP ในการประชุมสุดยอด RCEP (RCEP SUMMIT) ครั้งที่ 4 ผ่านระบบการประชุมทางไกล

     RCEP ใช้ระยะเวลาในการเจรจายาวนานถึง 8 ปี โดยเริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ.2012 ที่ความตกลงฯ ถูกนำเสนอขึ้นมาโดยมีเป้าหมายเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจเชิงลึกระหว่าง 16 ประเทศเอเชีย-แปซิฟิก และได้มีการประชุม เจรจากันหลายครั้ง จนกระทั่งสามารถหาข้อสรุปและประเทศภาคีร่วมลงนามกันเมื่อปี ค.ศ. 2020

ASEAN (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)

RCEP (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)




** ประเทศที่สามารถส่งออกเพื่อรับสิทธิยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากร

ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค

(Regional Comprehensive Economic Partnership Agreement: RCEP)


1. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป ได้แก่

 1)    บรูไนดารุสซาลาม  
 2) ราชอาณาจักรกัมพูชา                       3) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
 4)     สาธารณรัฐสิงคโปร์             5) ราชอาณาจักรไทย                6) สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
 7)    เครือรัฐออสเตรเลีย
 8) สาธารณรัฐประชาชนจีน  9) ประเทศญี่ปุ่น

10)   ราชอาณาจักรนิวซีแลนด์             


2. ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป ได้แก่

  สาธารณรัฐเกาหลี



3. ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป ได้แก่

   ประเทศมาเลเซีย


**เปรียบเทียบอัตราภาษีนำเข้าภายใต้ FTA ต่างๆ (คลิก)

 

                               การพิจารณา RCEP Country of Origin สำหรับความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค
                                            (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP)

ที่มาของการระบุ RCEP Country of Origin

     เนื่องจากความตกลง RCEP ประกอบด้วยประเทศสมาชิกที่มีระดับการพัฒนาที่แตกต่างกัน รวมทั้งเป็นความตกลงการค้าเสรีฉบับแรกที่บางประเทศสมาชิกมีร่วมกัน เช่น จีนและญี่ปุ่น เป็นต้น ส่งผลให้ประเทศสมาชิกไม่อาจทำการเปิดตลาดให้แก่ประเทศสมาชิกอื่นๆ อย่างเท่ากันได้ ส่งผลให้การนำเข้าสินค้าชนิดเดียวกันจากประเทศสมาชิกหนึ่ง อาจได้รับสิทธิประโยชน์จากประเทศผู้นำเข้าแตกต่างจากสินค้าที่นำเข้าจากอีกประเทศสมาชิกได้ ด้วยเหตุนี้ความตกลง RCEP จึงมีการกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมขึ้นมาเพื่อใช้ในการพิจารณาว่าสินค้าที่จะถูกส่งออกจะสามารถได้รับถิ่นกำเนิดของประเทศผู้ส่งออกในการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรหรือไม่ เพื่อป้องกันการหลบเลี่ยงอัตราภาษีที่สูงกว่าของประเทศหนึ่งในการส่งออกสินค้า ด้วยการไปดำเนินกระบวนการผลิตที่เล็กน้อยในประเทศที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีดีกว่า โดยประเทศสมาชิก RCEP ที่มีการเปิดตลาดที่แตกต่างกันประกอบด้วย 7 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และ เวียดนาม

การพิจารณา RCEP Country of Origin (Article 2.6 of the RCEP Agreement)

    1. สินค้าต้องเป็นสินค้าที่ได้ถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลง RCEP ไม่ว่าจะด้วยเกณฑ์ WO PE หรือ PSR (CTC RVC CR)กรณีที่สินค้าอยู่ในเอกสารแนบท้ายของตารางข้อผูกพันทางภาษี (Appendix) ของประเทศผู้นำเข้า* สินค้าต้องมีกระบวนการผลิตที่ผ่านเงื่อนไขเพิ่มเติมตามที่กำหนด คือ มีสัดส่วนมูลค่าการผลิตในประเทศผู้ส่งออกไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 (คำนวณรูปแบบเดียวกับ RVC แต่นับได้เฉพาะวัตถุดิบที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยเท่านั้น ไม่นับรวมวัตถุดิบที่ได้ถิ่นกำเนิดจากประเทศสมาชิกอื่นด้วย) หากสินค้าสัดส่วนมูลค่าการผลิตไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 RCEP Country of Origin ของสินค้า คือ ประเทศผู้ส่งออก หากน้อยกว่า ให้ระบุ RCEP Country of Origin
ตามข้อ 5
(Article 2.6.3)

     * ประเทศที่มีเอกสารแนบท้ายของตารางข้อผูกพันทางภาษี (Appendix) ประกอบด้วย ประเทศที่มีการเปิดตลาดสินค้าที่แตกต่างกัน 7 ประเทศเท่านั้น โดยแต่ละประเทศจะมีการกำหนดรายการสินค้าไม่เกิน 100 รายการ

     2. กรณีที่สินค้าได้ถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยเกณฑ์ PE จะต้องพิจารณาเพิ่มเติมว่า สินค้ามีกระบวนการผลิตที่เกินกว่ากระบวนการอย่างง่าย (Minimal Operation) หรือไม่ หากเกินกว่า Minimal Operation RCEP Country of Origin ของสินค้า คือ ประเทศผู้ส่งออก หากเป็นเพียง Minimal Operation ให้ระบุ RCEP Country of Origin ตามข้อ 4 (Article 2.6.2)

     3.   กรณีที่ไม่สามารถใช้ RCEP Country of Origin ของประเทศผู้ส่งออก ตามข้อ 2 หรือ ข้อ 3 ได้ ให้ RCEP Country of Origin เป็นประเทศที่มีสัดส่วนของวัตถุดิบที่ได้ถิ่นกำเนิดในกระบวนการผลิตสูงที่สุด

     4.   กรณีที่สินค้าไม่อยู่ในเอกสารแนบท้ายของตารางข้อผูกพันทางภาษี (Appendix) และได้ถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยเกณฑ์ WO หรือ PSR การระบุ RCEP Country of Origin ของสินค้า คือ ประเทศผู้ส่งออก (Article 2.6.2)

     5.   ทั้งนี้ หากไม่ต้องการพิสูจน์ตามเงื่อนไขในข้อ 2 และ 3 หรือไม่สามารถพิสูจน์ได้ หรือไม่ต้องการระบุประเทศที่ได้ถิ่นกำเนิดสินค้าตามข้อ 2 3 4 และ 5 ด้วยความยินยอมของผู้นำเข้า ผู้ส่งออกสามารถเลือกที่จะระบุประเทศที่ได้ถิ่นกำเนิดสูงสุดที่ประเทศผู้นำเข้าเรียกเก็บภาษีสำหรับสินค้า ได้ ตามกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนี้ (Article 2.6.6)

   (ก) ประเทศสมาชิกภายใต้ความตกลงการเป็นหุ้นส่วนระดับภูมิภาค (RCEP) ที่มีการนำวัตถุดิบที่ได้ถิ่นกำเนิดในภาคีสมาชิกภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) มาใช้ในกระบวนการผลิตในประเทศผู้ส่งออกพร้อมทั้งเครื่องหมาย “*” หลังชื่อประเทศ หรือ

    (ข) ประเทศสมาชิกภายใต้ความตกลงการเป็นหุ้นส่วนระดับภูมิภาค (RCEP) ที่ประเทศผู้นำเข้าเรียกเก็บอากรในอัตราสูงสุดสำหรับการนำเข้าสินค้าดังกล่าวภายใต้ความตกลงการเป็นหุ้นส่วนระดับภูมิภาค (RCEP) พร้อมทั้งเครื่องหมาย “**”หลังชื่อประเทศ

 

 เอกสารแนบท้ายของตารางข้อผูกพันทางภาษี