เปลี่ยนการแสดงผล

เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA)

เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA)

 


 

         อาเซียน (ASEAN) คือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 มีประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ประกอบด้วยสมาชิกเดิม 6 ประเทศ :บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และสมาชิกใหม่ (CLMV) 4 ประเทศ : กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม 
        ASEAN : (คลิกรายละเอียด)
        ATIGA : (คลิกรายละเอียด)

 


 

1.   ข้อตกลงทางการค้า

   ·      17 พฤษภาคม 2553 อาเซียนเริ่มใช้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement: ATIGA) เป็นแบบแผนและแนวปฏิบัติทางการค้าร่วมกัน ทดแทนข้อตกลงทางการค้า CEPT 

   ·      20 กันยายน 2563 วันเริ่มมีผลบังคับใช้ของพิธีสารฉบับที่ 1 (The First Protocol to Amend the ATIGA) เพื่อแก้ไขความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน โดยรองรับระบบการรับรองสินค้าด้วยตนเองของอาเซียน (ASEAN wide self-certification: AWSC) และแนวปฏิบัติการออก Form D ใหม่ อาทิ การยกเว้นระบุราคา FOB การอนุญาตให้ใช้ลายมือชื่อและตราประทับอิเล็กทรอนิกส์บนตัวฟอร์ม (Electronic Signatures and Seals: ESS) และเพิ่มการระบุเลขที่อ้างอิง (Ref.no) และวันที่ออกของหลักฐานรับรองถิ่นกำเนิดจากประเทศต้นทางลงในฟอร์ม Back-To-Back

   ·      1 พฤษภาคม 2565 วันเริ่มมีผลบังคับใช้ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Operational Certification Procedures: OCP) ที่ปรับปรุงใหม่ภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) ใน 2 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ (1) อนุญาตการออกหนังสือรับรองฯ ประเภท Back-to-Back แบบรวมสินค้าจากหลักฐานการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Proof of Origin) ที่ออกจากประเทศต้นกำเนิดมากกว่า 1 ฉบับ (consolidated export shipments) และ (2) ยกเลิกการนับ 3 วัน สำหรับทำเครื่องหมายหน้าคำว่า “Issued Retroactively” ในช่อง 13 ของหนังสือรับรองฯ Form D กรณีออกย้อนหลัง โดยปรับเป็นนับ 1 วัน (ทำเครื่องหมายในวันถัดจากวันที่ส่งออกสินค้า) โดยกรมการค้าต่างประเทศ ได้ออกประกาศกรมฯ เพื่อรองรับระเบียบฯ ที่ปรับปรุงใหม่ (ดูรายละเอียดได้ที่ข้อ 6.4 ข้างล่างนี้)

   ·      1 เมษายน 2566 วันที่ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) ปรับโอนพิกัดศุลกากร จากฉบับปี 2017 (HS/ AHTN 2017) เป็นฉบับปี 2022 (HS/AHTN 2022) อย่างเป็นทางการ โดยกรมการค้าต่างประเทศ ได้ออกประกาศกรมฯ เพื่อรองรับระเบียบฯ ที่ปรับปรุงใหม่แล้ว (ดูรายละเอียดได้ที่ข้อ 6.6 ข้างล่างนี้)


2. ตารางรายการสินค้าทีได้รับสิทธิภายใต้ ATIGA 
    2.1 Tariff Reduction Schedule : TRS – BRUNEI 2022
     2.2 Tariff Reduction Schedule : TRS – CAMBODIA 2022
     2.3 Tariff Reduction Schedule : TRS – INDONESIA 2022
     2.4 Tariff Reduction Schedule : TRS – LAOS 2022
    2.5 Tariff Reduction Schedule : TRS – MALAYSIA 2022
2.6 Tariff Reduction Schedule : TRS – MYANMAR 2022
2.7 Tariff Reduction Schedule : TRS – PHILIPPINES 2022
     2.8 Tariff Reduction Schedule : TRS – SINGAPORE 2022
     2.9 Tariff Reduction Schedule : TRS –THAILAND 2022
    2.10 Tariff Reduction Schedule : TRS –VIETNAM 2022
 หรือ ตรวจสอบรายการสินค้าที่ได้รับสิทธิฯ และภาษี จากเว็บไซต์ทางการของอาเซียน Click

3. กฎถิ่นกำเนิดสินค้า (Rule of Origin)
การใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้กรอบความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) สินค้าจะต้องผลิตได้ถูกต้องตามกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) ดังนี้ 
กฎทั่วไป (General Rule: GR)
1) สินค้าถูกผลิตขึ้นทั้งหมดในประเทศผู้ส่งออก (Wholly Obtained: WO) หรือ 
2) สินค้าต้องมีการใช้วัตถุดิบภายในภูมิภาคอาเซียน (Regional Value Content: RVC) ไม่น้อย  กว่าร้อยละ 40 ของราคา FOB หรือ 
3) มีการแปรสภาพอย่างเพียงพอโดยการเปลี่ยนพิกัดศุลกากรระหว่าง “วัตถุดิบนำเข้า” กับ “สินค้าที่ส่งออก” ในระดับ 4 หลัก (Change in Heading : CTH) 
กฎเฉพาะรายสินค้า (Product Specific Rule: PSR)
กฎที่ใช้เฉพาะกับสินค้าบางรายการ มีทั้งหมด 3,166 รายการ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามสินค้าแต่ละพิกัดฯ (พิจารณาที่พิกัดศุลกากร 6 หลัก) “หากสินค้าใดมีการระบุให้ใช้กฎ PSR ผู้ประกอบการพึงเลือกใช้กฎ PSR ก่อน แต่หากสินค้าใดไม่ถูกระบุในตาราง PSR จึงเลือกใช้กฎทั่วไปแทน”
Product Specific Rule: PSRs 2022 » ตรวจสอบกฎเฉพาะรายสินค้า
PSRs for textiles 2022 » ดูเกณฑ์การผลิตเฉพาะสำหรับสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

กฎสำหรับสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Agreement Products: ITA) 
ความตกลง ATIGA (Article 28 ย่อหน้าที่ 3) ได้ระบุเพิ่มความยืดหยุ่นในการได้ถิ่นกำเนิดให้กับสินค้าที่อยู่ในบัญชี ITA (Annex 4 ใน ATIGA) โดยอนุญาตให้นำเข้าวัตถุดิบที่เป็นสินค้าภายใต้บัญชีดังกล่าวมาประกอบกัน และถือได้ว่าได้ถิ่นกำเนิดในประเทศภาคีผู้ส่งออก กล่าวคือ สินค้าบัญชี ITA จำนวน 457 รายการ  ผู้ผลิตมีทางเลือกใช้เกณฑ์การได้ถิ่นกำเนิดจากกระบวนการประกอบเพิ่มเติมจาก กฎ GR และ PSR ทำให้ผู้ส่งออกสินค้าภายใต้บัญชี ITA สามารถใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลง ATIGA ได้มากขึ้น
ITA Product lists – ATIGA annex 4 » ตรวจสอบรายการสินค้า ITA

 


4. หลักฐานการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Proof of Origin)
ปัจจุบันผู้ประกอบการสามารถใช้หลักฐานในการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้ ATIGA ได้ 3 รูปแบบ ได้แก่
แบบที่ 1 หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  (e-Form D) ผู้ประกอบการสามารถยื่นคำขอผ่านระบบการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าของกรมการค้าต่างประเทศ เมื่อหนังสือรับรองฯ ได้รับการอนุมัติ ข้อมูลจะถูกส่งไปยังศุลกากรประเทศปลายทางผ่าน ASEAN Single Window (ASW)  ซึ่งผู้นำเข้าสามารถใช้ Reference Number  ของ e-Form D ประกอบพิธีการนำเข้าเสมือน Form D แบบกระดาษ 
แบบที่ 2 หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า Form D แบบกระดาษ กรมการค้าต่างประเทศจะออกให้ก็ต่อเมื่อมีเหตุขัดข้องทางระบบหรือเหตุสุดวิสัยอื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถออก e-Form D ได้
แบบที่ 3 Origin Declaration ภายใต้ระบบการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองของอาเซียน ASEAN wide Self-certification (AWSC) ซึ่งผู้ส่งออกที่ได้รับการรับรอง (Certified Exporter: CE) ที่ประสงค์ใช้สิทธิฯ สามารถจัดทำคำรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าลงบนเอกสาร เช่น ใบกำกับสินค้า (Commercial Invoice) ใบเรียกเก็บเงินค่าสินค้า (Billing Statement) ใบสั่งปล่อยสินค้า (Delivery Order) หรือใบรายการหีบห่อสินค้า (Packing List) ซึ่งสงวนเฉพาะรายการสินค้าที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมฯ เท่านั้น


5. ช่อง 13 ของ FORM D 
5.1. Back-to-Back - ผู้ส่งออกประเทศคนกลาง ได้นำเข้าสินค้าจากประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศหนึ่งเพื่อส่งออกไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนอีกประเทศหนึ่ง
5.2. Third Country Invoicing - ออกให้กรณีที่ใบกำกับสินค้า (Invoice) ออกโดยประเทศที่สาม ซึ่งอาจเป็นประเทศอาเซียนหรือนอกอาเซียนก็ได้
5.3. Accumulation หรือ การสะสมถิ่นกำเนิดสินค้า- ผู้ส่งออกได้นำเข้าสินค้าที่ได้ถิ่นกำเนิดจากประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศหนึ่ง มาใช้เป็นวัสดุสำหรับการผลิตสินค้าสำเร็จรูปในประเทศไทย เพื่อส่งออกไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนอีกประเทศหนึ่ง
5.4. Partial Cumulation หรือ สะสมถิ่นกำเนิดสินค้าเพียงบางส่วน – กรณีผู้ส่งออกต้องการส่งออกสินค้าที่มีสัดส่วนมูลค่าการผลิตภายในภูมิภาค (RVC) ตั้งแต่ร้อยละ 20 แต่ไม่ถึงร้อยละ 40 ของมูลค่า FOB ของสินค้าที่ส่งออกจากประเทศไทย เพื่อนำไปใช้เป็นวัสดุสำหรับการผลิตสินค้าสำเร็จรูปในประเทศสมาชิกอาเซียน โดยไม่ขอรับสิทธิพิเศษทางภาษี ณ ประเทศสมาชิกอาเซียนผู้นำเข้า
5.5. De Minimis – กรณีผู้ประกอบการเลือกใช้เกณฑ์การเปลี่ยนพิกัดศุลกากร (CTC) แต่สินค้าส่งออกมีการใช้วัตถุดิบนอกภาคีที่ไม่ผ่านเกณฑ์การเปลี่ยนพิกัด ซึ่งภายใต้หลักการ 
De Minimis สินค้าดังกล่าวจะได้รับการอนุโลมและจะถือว่าได้ถิ่นกำเนิดประเทศไทย หากมูลค่าวัตถุดิบที่ไม่ผ่านเกณฑ์การเปลี่ยนพิกัด มีมูลค่าไม่เกิน ร้อยละ 10 ของราคา FOB
5.6. Exhibition - สินค้าที่ส่งออกไปเพื่องานแสดงสินค้าที่จัดขึ้นในประเทศสมาชิกอาเซียนและต่อมาในระหว่างหรือหลังเสร็จจากงานแสดงสินค้า ผู้ส่งออกได้ขายสินค้านั้นให้แก่ผู้ซื้อในประเทศสมาชิกอาเซียน
5.7. Issued Retroactively การออกหนังสือรับรองฯ ย้อนหลัง – กรณีผู้ส่งออกยื่นขอรับหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (FORM D) 1 วันถัดจากวันที่ส่งออกสินค้า (On Board) กรมการค้าต่างประเทศจะออกหนังสือรับรองฯ ให้แก่ผู้ส่งออกย้อนหลังได้แต่ไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ส่งออก

 


6. ระเบียบ/กฎหมาย/ข้อกำหนด/แบบฟอร์ม ที่ควรทราบ
6.1 ASEAN Trade in Goods Agreement: ATIGA and Annex 1 – 11 – ENG  อ่านข้อบทความตกลงได้ที่นี่ (ยกเว้น Annex 2)
6.2  Operational Certification Procedures (OCP) (1 May 2022 onwards) – ENG อ่านระเบียบวิธีการออก Form D และ Origin Declaration ได้ที่นี่ (มีผลตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป) หรือ ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์สำนักเลขาธิการอาเซียน Click
6.3  FORM D  (1 May 2022 onwards) – ENG ดูรูปแบบฟอร์มดีที่นี่ (มีผลตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป) หรือ ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์สำนักเลขาธิการอาเซียน Click
6.4  ประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง การออกหลักฐานการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าตามความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน พ.ศ. 2565 หรือ ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ประกาศราชกิจจานุเบกษา Click
6.5  ประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง การขึ้นทะเบียนและการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองตามความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน พ.ศ. 2563
 6.6 ประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง การออกหลักฐานการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าตามความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566

 


 


 

ติดต่อสอบถามรายละเอียด กลุ่ม 2 กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า ชั้น 14 กรมการค้าต่างประทศ
โทรศัพท์ : 02 547 4872   โทรสาร : 02 547 4816
อีเมล : btpgroup2@gmail.com


 เอกสารแนบ

เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA)

 


 

         อาเซียน (ASEAN) คือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 มีประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ประกอบด้วยสมาชิกเดิม 6 ประเทศ :บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และสมาชิกใหม่ (CLMV) 4 ประเทศ : กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม 
        ASEAN : (คลิกรายละเอียด)
        ATIGA : (คลิกรายละเอียด)

 


 

1.   ข้อตกลงทางการค้า

   ·      17 พฤษภาคม 2553 อาเซียนเริ่มใช้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement: ATIGA) เป็นแบบแผนและแนวปฏิบัติทางการค้าร่วมกัน ทดแทนข้อตกลงทางการค้า CEPT 

   ·      20 กันยายน 2563 วันเริ่มมีผลบังคับใช้ของพิธีสารฉบับที่ 1 (The First Protocol to Amend the ATIGA) เพื่อแก้ไขความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน โดยรองรับระบบการรับรองสินค้าด้วยตนเองของอาเซียน (ASEAN wide self-certification: AWSC) และแนวปฏิบัติการออก Form D ใหม่ อาทิ การยกเว้นระบุราคา FOB การอนุญาตให้ใช้ลายมือชื่อและตราประทับอิเล็กทรอนิกส์บนตัวฟอร์ม (Electronic Signatures and Seals: ESS) และเพิ่มการระบุเลขที่อ้างอิง (Ref.no) และวันที่ออกของหลักฐานรับรองถิ่นกำเนิดจากประเทศต้นทางลงในฟอร์ม Back-To-Back

   ·      1 พฤษภาคม 2565 วันเริ่มมีผลบังคับใช้ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Operational Certification Procedures: OCP) ที่ปรับปรุงใหม่ภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) ใน 2 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ (1) อนุญาตการออกหนังสือรับรองฯ ประเภท Back-to-Back แบบรวมสินค้าจากหลักฐานการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Proof of Origin) ที่ออกจากประเทศต้นกำเนิดมากกว่า 1 ฉบับ (consolidated export shipments) และ (2) ยกเลิกการนับ 3 วัน สำหรับทำเครื่องหมายหน้าคำว่า “Issued Retroactively” ในช่อง 13 ของหนังสือรับรองฯ Form D กรณีออกย้อนหลัง โดยปรับเป็นนับ 1 วัน (ทำเครื่องหมายในวันถัดจากวันที่ส่งออกสินค้า) โดยกรมการค้าต่างประเทศ ได้ออกประกาศกรมฯ เพื่อรองรับระเบียบฯ ที่ปรับปรุงใหม่ (ดูรายละเอียดได้ที่ข้อ 6.4 ข้างล่างนี้)

   ·      1 เมษายน 2566 วันที่ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) ปรับโอนพิกัดศุลกากร จากฉบับปี 2017 (HS/ AHTN 2017) เป็นฉบับปี 2022 (HS/AHTN 2022) อย่างเป็นทางการ โดยกรมการค้าต่างประเทศ ได้ออกประกาศกรมฯ เพื่อรองรับระเบียบฯ ที่ปรับปรุงใหม่แล้ว (ดูรายละเอียดได้ที่ข้อ 6.6 ข้างล่างนี้)


2. ตารางรายการสินค้าทีได้รับสิทธิภายใต้ ATIGA 
    2.1 Tariff Reduction Schedule : TRS – BRUNEI 2022
     2.2 Tariff Reduction Schedule : TRS – CAMBODIA 2022
     2.3 Tariff Reduction Schedule : TRS – INDONESIA 2022
     2.4 Tariff Reduction Schedule : TRS – LAOS 2022
    2.5 Tariff Reduction Schedule : TRS – MALAYSIA 2022
2.6 Tariff Reduction Schedule : TRS – MYANMAR 2022
2.7 Tariff Reduction Schedule : TRS – PHILIPPINES 2022
     2.8 Tariff Reduction Schedule : TRS – SINGAPORE 2022
     2.9 Tariff Reduction Schedule : TRS –THAILAND 2022
    2.10 Tariff Reduction Schedule : TRS –VIETNAM 2022
 หรือ ตรวจสอบรายการสินค้าที่ได้รับสิทธิฯ และภาษี จากเว็บไซต์ทางการของอาเซียน Click

3. กฎถิ่นกำเนิดสินค้า (Rule of Origin)
การใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้กรอบความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) สินค้าจะต้องผลิตได้ถูกต้องตามกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) ดังนี้ 
กฎทั่วไป (General Rule: GR)
1) สินค้าถูกผลิตขึ้นทั้งหมดในประเทศผู้ส่งออก (Wholly Obtained: WO) หรือ 
2) สินค้าต้องมีการใช้วัตถุดิบภายในภูมิภาคอาเซียน (Regional Value Content: RVC) ไม่น้อย  กว่าร้อยละ 40 ของราคา FOB หรือ 
3) มีการแปรสภาพอย่างเพียงพอโดยการเปลี่ยนพิกัดศุลกากรระหว่าง “วัตถุดิบนำเข้า” กับ “สินค้าที่ส่งออก” ในระดับ 4 หลัก (Change in Heading : CTH) 
กฎเฉพาะรายสินค้า (Product Specific Rule: PSR)
กฎที่ใช้เฉพาะกับสินค้าบางรายการ มีทั้งหมด 3,166 รายการ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามสินค้าแต่ละพิกัดฯ (พิจารณาที่พิกัดศุลกากร 6 หลัก) “หากสินค้าใดมีการระบุให้ใช้กฎ PSR ผู้ประกอบการพึงเลือกใช้กฎ PSR ก่อน แต่หากสินค้าใดไม่ถูกระบุในตาราง PSR จึงเลือกใช้กฎทั่วไปแทน”
Product Specific Rule: PSRs 2022 » ตรวจสอบกฎเฉพาะรายสินค้า
PSRs for textiles 2022 » ดูเกณฑ์การผลิตเฉพาะสำหรับสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

กฎสำหรับสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Agreement Products: ITA) 
ความตกลง ATIGA (Article 28 ย่อหน้าที่ 3) ได้ระบุเพิ่มความยืดหยุ่นในการได้ถิ่นกำเนิดให้กับสินค้าที่อยู่ในบัญชี ITA (Annex 4 ใน ATIGA) โดยอนุญาตให้นำเข้าวัตถุดิบที่เป็นสินค้าภายใต้บัญชีดังกล่าวมาประกอบกัน และถือได้ว่าได้ถิ่นกำเนิดในประเทศภาคีผู้ส่งออก กล่าวคือ สินค้าบัญชี ITA จำนวน 457 รายการ  ผู้ผลิตมีทางเลือกใช้เกณฑ์การได้ถิ่นกำเนิดจากกระบวนการประกอบเพิ่มเติมจาก กฎ GR และ PSR ทำให้ผู้ส่งออกสินค้าภายใต้บัญชี ITA สามารถใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลง ATIGA ได้มากขึ้น
ITA Product lists – ATIGA annex 4 » ตรวจสอบรายการสินค้า ITA

 


4. หลักฐานการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Proof of Origin)
ปัจจุบันผู้ประกอบการสามารถใช้หลักฐานในการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้ ATIGA ได้ 3 รูปแบบ ได้แก่
แบบที่ 1 หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  (e-Form D) ผู้ประกอบการสามารถยื่นคำขอผ่านระบบการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าของกรมการค้าต่างประเทศ เมื่อหนังสือรับรองฯ ได้รับการอนุมัติ ข้อมูลจะถูกส่งไปยังศุลกากรประเทศปลายทางผ่าน ASEAN Single Window (ASW)  ซึ่งผู้นำเข้าสามารถใช้ Reference Number  ของ e-Form D ประกอบพิธีการนำเข้าเสมือน Form D แบบกระดาษ 
แบบที่ 2 หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า Form D แบบกระดาษ กรมการค้าต่างประเทศจะออกให้ก็ต่อเมื่อมีเหตุขัดข้องทางระบบหรือเหตุสุดวิสัยอื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถออก e-Form D ได้
แบบที่ 3 Origin Declaration ภายใต้ระบบการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองของอาเซียน ASEAN wide Self-certification (AWSC) ซึ่งผู้ส่งออกที่ได้รับการรับรอง (Certified Exporter: CE) ที่ประสงค์ใช้สิทธิฯ สามารถจัดทำคำรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าลงบนเอกสาร เช่น ใบกำกับสินค้า (Commercial Invoice) ใบเรียกเก็บเงินค่าสินค้า (Billing Statement) ใบสั่งปล่อยสินค้า (Delivery Order) หรือใบรายการหีบห่อสินค้า (Packing List) ซึ่งสงวนเฉพาะรายการสินค้าที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมฯ เท่านั้น


5. ช่อง 13 ของ FORM D 
5.1. Back-to-Back - ผู้ส่งออกประเทศคนกลาง ได้นำเข้าสินค้าจากประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศหนึ่งเพื่อส่งออกไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนอีกประเทศหนึ่ง
5.2. Third Country Invoicing - ออกให้กรณีที่ใบกำกับสินค้า (Invoice) ออกโดยประเทศที่สาม ซึ่งอาจเป็นประเทศอาเซียนหรือนอกอาเซียนก็ได้
5.3. Accumulation หรือ การสะสมถิ่นกำเนิดสินค้า- ผู้ส่งออกได้นำเข้าสินค้าที่ได้ถิ่นกำเนิดจากประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศหนึ่ง มาใช้เป็นวัสดุสำหรับการผลิตสินค้าสำเร็จรูปในประเทศไทย เพื่อส่งออกไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนอีกประเทศหนึ่ง
5.4. Partial Cumulation หรือ สะสมถิ่นกำเนิดสินค้าเพียงบางส่วน – กรณีผู้ส่งออกต้องการส่งออกสินค้าที่มีสัดส่วนมูลค่าการผลิตภายในภูมิภาค (RVC) ตั้งแต่ร้อยละ 20 แต่ไม่ถึงร้อยละ 40 ของมูลค่า FOB ของสินค้าที่ส่งออกจากประเทศไทย เพื่อนำไปใช้เป็นวัสดุสำหรับการผลิตสินค้าสำเร็จรูปในประเทศสมาชิกอาเซียน โดยไม่ขอรับสิทธิพิเศษทางภาษี ณ ประเทศสมาชิกอาเซียนผู้นำเข้า
5.5. De Minimis – กรณีผู้ประกอบการเลือกใช้เกณฑ์การเปลี่ยนพิกัดศุลกากร (CTC) แต่สินค้าส่งออกมีการใช้วัตถุดิบนอกภาคีที่ไม่ผ่านเกณฑ์การเปลี่ยนพิกัด ซึ่งภายใต้หลักการ 
De Minimis สินค้าดังกล่าวจะได้รับการอนุโลมและจะถือว่าได้ถิ่นกำเนิดประเทศไทย หากมูลค่าวัตถุดิบที่ไม่ผ่านเกณฑ์การเปลี่ยนพิกัด มีมูลค่าไม่เกิน ร้อยละ 10 ของราคา FOB
5.6. Exhibition - สินค้าที่ส่งออกไปเพื่องานแสดงสินค้าที่จัดขึ้นในประเทศสมาชิกอาเซียนและต่อมาในระหว่างหรือหลังเสร็จจากงานแสดงสินค้า ผู้ส่งออกได้ขายสินค้านั้นให้แก่ผู้ซื้อในประเทศสมาชิกอาเซียน
5.7. Issued Retroactively การออกหนังสือรับรองฯ ย้อนหลัง – กรณีผู้ส่งออกยื่นขอรับหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (FORM D) 1 วันถัดจากวันที่ส่งออกสินค้า (On Board) กรมการค้าต่างประเทศจะออกหนังสือรับรองฯ ให้แก่ผู้ส่งออกย้อนหลังได้แต่ไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ส่งออก

 


6. ระเบียบ/กฎหมาย/ข้อกำหนด/แบบฟอร์ม ที่ควรทราบ
6.1 ASEAN Trade in Goods Agreement: ATIGA and Annex 1 – 11 – ENG  อ่านข้อบทความตกลงได้ที่นี่ (ยกเว้น Annex 2)
6.2  Operational Certification Procedures (OCP) (1 May 2022 onwards) – ENG อ่านระเบียบวิธีการออก Form D และ Origin Declaration ได้ที่นี่ (มีผลตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป) หรือ ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์สำนักเลขาธิการอาเซียน Click
6.3  FORM D  (1 May 2022 onwards) – ENG ดูรูปแบบฟอร์มดีที่นี่ (มีผลตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป) หรือ ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์สำนักเลขาธิการอาเซียน Click
6.4  ประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง การออกหลักฐานการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าตามความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน พ.ศ. 2565 หรือ ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ประกาศราชกิจจานุเบกษา Click
6.5  ประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง การขึ้นทะเบียนและการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองตามความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน พ.ศ. 2563
 6.6 ประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง การออกหลักฐานการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าตามความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566

 


 


 

ติดต่อสอบถามรายละเอียด กลุ่ม 2 กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า ชั้น 14 กรมการค้าต่างประทศ
โทรศัพท์ : 02 547 4872   โทรสาร : 02 547 4816
อีเมล : btpgroup2@gmail.com