1. กฎระเบียบการควบคุมเพื่อป้องกันความเสี่ยงในอาหารเพื่อการบริโภค(Preventive Controls forHuman Food)
|
เป็นมาตรการป้องกันและควบคุมความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อม และกระบวนการผลิตในโรงงาน โดยโรงงานต้องมีการตรวจสอบสารอันตรายที่เป็นเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยด้านสุขอนามัยในอาหาร ได้แก่ การวิเคราะห์และการควบคุมเพื่อป้องกันอันตราย การตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม การควบคุมสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร รวมถึงการตรวจสอบการควบคุมกระบวนการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยครอบคลุมโรงงานที่ผลิต แปรรูป บรรจุ และเก็บรักษาอาหารเพื่อการบริโภคของมนุษย์ ทั้งนี้มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่10กันยายน2558
|
1. โรงงานขนาดเล็กมาก (ยอดขายเฉลี่ยน้อยกว่า 1,000,000 เหรียญสหรัฐฯต่อปี) ให้มีระยะเวลาเตรียมการ 3 ปีนับจากวันที่ระเบียบมีผลบังคับใช้
2. โรงงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ ให้มีระยะเวลาเตรียมการ 3 ปีนับจากวันที่ระเบียบมีผลบังคับใช้
3. โรงงานขนาดเล็ก (พนักงานประจำน้อยกว่า 500 คน) ให้มีระยะเวลาเตรียมการ 2 ปีนับจากวันที่ระเบียบมีผลบังคับใช้
4. โรงงานอื่น ๆ : ให้มีระยะเวลาเตรียมการ 1 ปีนับจากวันที่ระเบียบมีผลบังคับใช้
|
2.กฎระเบียบป้องกันการปนเปื้อนในอาหารสัตว์(Preventive Controls for Animal Food)
|
เป็นมาตรการควบคุมการผลิตอาหารสัตว์ให้มีความปลอดภัย โดยครอบคลุมโรงงานผู้ผลิตอาหารสัตว์ รวมทั้งโรงงานผลิตอาหารสำหรับผู้บริโภคและมีส่วนเหลือที่ใช้ทำอาหารสัตว์ ตามแนวทางปฏิบัติด้านการผลิตที่ดี (Current Good Manufacturing Practices : CGMPs)โดยผู้ประกอบการสามารถเลือกปฏิบัติตามได้ทั้งแนวทางปฏิบัติของCGMPสําหรับอาหารเพื่อการบริโภคของมนุษย์ หรืออาหารสัตว์ ทั้งนี้มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่10กันยายน2558
|
1.โรงงานขนาดเล็กมาก (ยอดขายเฉลี่ยในช่วง3ปีต่ำกว่า2.5ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี) มีระยะเวลาเตรียมการเพื่อปฏิบัติตามระเบียบ3ปี นับจากวันที่ระเบียบมีผลบังคับใช้
2.โรงงานขนาดเล็ก (พนักงานประจำน้อยกว่า500คน) ให้มีระยะเวลาปรับตัว2ปีนับจากวันที่ระเบียบมีผลบังคับใช้
3.โรงงานอื่นๆ ให้มีระยะเวลาปรับตัว1ปีนับจากวันที่ระเบียบมีผลบังคับใช้
|
3.กฎระเบียบการพิสูจน์ยืนยันผู้แทนการจัดจำหน่ายในต่างประเทศ (Foreign Supplier Verification Program: FSVP)
|
เป็นมาตรการยืนยันว่าผู้แทนจัดจำหน่าย / ผูนําเข้าสินค้าอาหารและผลิตภัณฑ์ / ผูจัดหา / ผู้ขนส่งอาหารสำหรับผู้บริโภคและอาหารสัตว์ที่นำเข้ามาในสหรัฐอเมริกา สามารถส่งสินค้าและผลิตภัณฑ์อาหารผู้บริโภคและอาหารสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะในระดับเดียวกับการควบคุมของกระทรวงสาธารณสุขสหรัฐฯ รวมทั้งการกำกับการติดฉลากอาหารให้ถูกต้องครบถ้วน ทั้งนี้ยกเว้นอาหารประเภทน้ำผลไม ปลา และผลิตภัณฑประมงที่อยูภายใตและตองปฏิบัติตามการวิเคราะหอันตรายตามระบบการการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร (Hazard Analysis and Critical Control Point : HACCP)/ อาหารสําหรับการวิจัยหรือการประเมิน / อาหารเพื่อการบริโภคสวนบุคคล / เครื่องดื่มแอลกอฮอล์บางอยางสําหรับใชในเครื่องดื่มแอลกอฮอล / อาหารที่นําเขาเพื่อแปรรูปและสงออก อาหารกระปองที่มีความเป็นกรดต่ำ (Low acid canned foods: LACF)เนื้อสัตว / สัตวปก และผลิตภัณฑไขบางชนิดที่ควบคุมโดยกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาโดยมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2558
|
สำหรับผูนําเข้าอาหาร / ผูจัดหา / ขนส่งอาหารทั้งที่เป็นอาหารสำหรับผู้บริโภคและ อาหารสัตว์ ที่นําเขามาในสหรัฐอเมริกา ให้มีระยะเวลาเตรียมการ 18 เดือนนับจากวันที่ระเบียบมีผลบังคับใช้
|
4.กฎระเบียบมาตรฐานความปลอดภัยการเพาะปลูก เก็บเกี่ยว บรรจุและเก็บรักษาในการผลิตเพื่อการบริโภค (Produce Safety Standards)
|
เป็นมาตรการควบคุมการผลิตสินค้าผักผลไม้และผลิตภัณฑ์ตั้งแต่การผลิตจนถึงการบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่เกี่ยวกับคุณภาพน้ำ / วัสดุชีวภาพในการบำรุงดิน / การผลิตพืชที่ให้หน่อ และการควบคุมดูแลพืชในบริเวณที่มีการเลี้ยงสัตว์และพื้นที่เพาะปลูกที่มีการบุกรุกจากสัตว์ป่า รวมถึงการดูแลด้านแรงงาน และอุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร ทั้งที่ผลิตในสหรัฐฯและที่นำเข้า ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวไม่รวมถึงการควบคุมการผลิตพืชผักดิบ พืชตระกูลถั่ว ธัญพืช บางชนิด และเกษตรกรผู้ผลิตที่มีรายได้เฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี น้อยกว่า 25,000 เหรียญสหรัฐฯต่อปีโดยมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2558
|
1. ฟาร์มขนาดเล็กมาก (ยอดขายเฉลี่ยมากกว่า 25,000 แต่ไม่เกิน 250,000 เหรียญสหรัฐฯต่อปี) ให้มีระยะเวลาเตรียมการ 4 ปีนับจากวันที่ระเบียบมีผลบังคับใช้
2. ฟาร์มขนาดเล็ก (ยอดขายเฉลี่ยมากกว่า 250,000 แต่ไม่เกิน 500,000 เหรียญสหรัฐฯต่อปี) ให้มีระยะเวลาเตรียมการ 3 ปีนับจากวันที่ระเบียบมีผลบังคับใช้
3. ฟาร์มประเภทอื่น ๆ : ให้มีระยะเวลาเตรียมการ 2 ปีนับจากวันที่ระเบียบมีผลบังคับใช้
|
5. กฎระเบียบการรับรองหน่วยงาน / องค์กรที่ทำหน้าที่ผู้ประเมินภายนอก (Accreditation of Third-Party Auditors)
|
เป็นมาตรการให้การรับรองหน่วยงานต่างประเทศหรือองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจประเมินอิสระ (Third Party Audition)โดยอาจเป็นหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนซึ่งหน่วยงานที่ผ่านการรับรองจะสามารถตรวจสอบและให้การรับรองแทนUSFDAในการยืนยันว่าโรงงานและสถานประกอบการในต่างประเทศได้ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยอาหารของสหรัฐฯ กำหนด โดยผู้ผลิต / โรงงาน /ฟาร์มผู้ผลิตในต่างประเทศสามารถเลือกที่จะตรวจสอบกับผู้ตรวจสอบอิสระที่ผ่านการรับรองได้ในประเทศของตนได้ อย่างไรก็ตาม มาตรการนี้ไม่รวมถึงการรับรองสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตในต่างประเทศ เนื้อสัตว์สัตว์ปีก และผลิตภัณฑ์ไข่ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรสหรัฐ ทั้งนี้มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2558
|
หน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนที่ขอเข้าร่วมโครงการดังกล่าวของUSFDA
|
6.กฎระเบียบการป้องกันการปนเปื้อนระหว่างการขนส่งอาหารเพื่อการบริโภคและอาหารสัตว์ (Sanitary Transportation of Food and Feed
|
เป็นมาตรการควบคุมความสะอาด ความปลอดภัย ยานพาหนะในการขนย้ายสินค้าอาหารสำหรับผู้บริโภคและอาหารสัตว์ เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนจากการขนส่งโดยโครงการนี้ได้เปิดให้มีบุคคลที่สามที่ให้บริการการตรวจประเมินและรับรองความสะอาด ความปลอดภัยของอาหารในต่างประเทศ การควบคุมตั้งแต่แหล่งผลิตจนถึงแหล่งจำหน่าย รวมถึงการส่งออกสินค้ามายังสหรัฐฯ (ทั้งทางเรือและทางอากาศ) ทั้งนี้มาตรการนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาให้มีผลบังคับใช้
|
1.ธุรกิจขนาดเล็ก (พนักงานต่ำกว่า500คน และมีผลประกอบการต่ำกว่า25.5ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี) ให้มีระยะเวลาเตรียมการ2ปีนับจากวันที่ระเบียบมีผลบังคับใช้
2.ธุรกิจอื่นๆ ให้มีระยะเวลาเตรียมการ1ปีนับจากวันที่ระเบียบมีผลบังคับใช้
|
7.มาตรการควบคุมความปลอดภัยของอาหารจากการปลอมปนโดยเจตนา (Protect Food against Intentional Adulteration)
|
เป็นมาตรการควบคุมการผลิต แปรรูป บรรจุ และเก็บรักษาทั้งอาหารสำหรับผู้บริโภคและอาหารสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าอาหารที่อยู่ในรูปของเหลว ทั้งที่ผลิตในสหรัฐฯและที่นำเข้า โดยโครงการนี้ได้เปิดให้มีบุคคลที่สามที่ให้บริการการตรวจประเมินและรับรองความสะอาดปลอดภัยของอาหารในต่างประเทศ ทั้งนี้มาตรการนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาให้มีผลบังคับใช้
|
1.โรงงานขนาดเล็กมาก (ยอดขายน้อยกว่า10,000,000เหรียญสหรัฐฯต่อปี) ให้มีระยะเวลาเตรียมการ3ปีนับจากวันที่ระเบียบมีผลบังคับใช้
2.โรงงานขนาดเล็ก (พนักงานประจำน้อยกว่า500คน) ให้มีระยะเวลาเตรียมการ2ปีนับจากวันที่ระเบียบมีผลบังคับใช้
3.โรงงานอื่น ๆ : ให้มีระยะเวลาเตรียมการ1ปีนับจากวันที่ระเบียบมีผลบังคับใช้
|