การให้สิทธิ
|
เริ่มให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) แก่ประเทศกำลังพัฒนา และประเทศพัฒนาน้อยที่สุดรวมทั้งดินแดนในเขตปกครองต่าง ๆ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2514 เป็นต้นมา
|
ระยะเวลาโครงการ
|
ไม่ได้มีการกำหนดระยะเวลาโครงการให้สิทธิ GSP ไว้
|
ประเทศที่ได้รับสิทธิGSP
|
ให้สิทธิฯ แก่ประเทศกำลังพัฒนา (รวมถึงประเทศไทย) และประเทศพัฒนาน้อยที่สุด กว่า 90 ประเทศ/เขตแดน
|
รายการสินค้าที่ได้รับสิทธิGSP
|
- สินค้าเกษตร (พิกัดฯ 0-24) ได้รับการลด/ยกเว้นภาษีนำเข้า ตั้งแต่ 10 - 100 %
- สินค้าอุตสาหกรรม (พิกัดฯ 25-97) ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าทุกรายการ(ยกเว้นสินค้าบางรายการภายใต้พิกัดฯ 61-63 ตาม List 7)
รายการสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมที่ได้รับสิทธิฯ มีดังนี้
- List 1 : รายการสินค้าเกษตรที่ได้รับการลดภาษีเหลือ 0
- List 2 : รายการสินค้าเกษตรที่ได้รับการลดภาษีเหลือ 0 ที่เป็นส่วนประกอบสำหรับอุตสาหกรรม
- List 3 : รายการสินค้าเกษตรที่ได้รับการลดภาษีนำเข้าร้อยละ 15 ของอัตราภาษีปกติ
- List 4 : รายการสินค้าเกษตรที่ได้รับการลดภาษีนำเข้าร้อยละ 10 ของอัตราภาษีปกติ
- List 5 : รายการสินค้าเกษตรที่ได้รับการลดภาษีนำเข้าร้อยละ 50 ของอัตราภาษีปกติ
- List 6 : รายการสินค้าโควต้า ภายใต้ WTO ที่ได้รับการลดภาษีนำเข้าร้อยละ 30 ของอัตราภาษีปกติ
- List 7 : รายการสินค้าอุตสาหกรรมที่ยกเว้นจากการได้รับสิทธิฯ
|
กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า
|
สินค้าที่จะขอรับสิทธิพิเศษ GSP ได้ จะต้องผลิตตามกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า ดังนี้
1. ผลิตโดยใช้วัตถุดิบภายในประเทศผู้ผลิตทั้งหมด(Wholly ObtainedProducts) หรือ
2. มีกระบวนการแปรสภาพอย่างเพียงพอ (Sufficient process) คือ กฎการเปลี่ยนพิกัดฯ ในระดับ 4 หลัก (Change in Tariff Heading) ทั้งนี้ สินค้าบางรายการจะต้องผลิตตามกฎเฉพาะรายสินค้า ตามที่ระบุในตาราง
LIST OF PRODUCTS AND WORKING OR PROCESSING OPERATIONS WHICH CONFER ORIGINATING STATUS
|
การสะสมถิ่นกำเนิดสินค้า
|
1. Regional Cumulation: การนำวัตถุดิบจากประเทศในภูมิภาคเดียวกันที่ได้สิทธิ GSP จากนอร์เวย์ มาสะสมฯ
2. Bilateral Cumulation: การนำวัตถุดิบจากนอร์เวย์มาสะสมฯ โดยใช้เอกสาร Movement Certificate EUR 1 หรือ invoice declaration
3. Diagonal Cumulation (สวิตเซอร์แลนด์): การนำวัตถุดิบ พิกัดฯ 25-97 จาก สวิตเซอร์แลนด์ มาสะสมฯ
|
เงื่อนไขการขอรับสิทธิ GSP
|
1. เป็นสินค้าที่อยู่ในรายการสินค้าที่นอร์เวย์ให้สิทธิ GSP
2. ผลิตถูกต้องตามกฎถิ่นกำเนิดสินค้าตามที่นอร์เวย์กำหนด
3. ส่งตรงจากประเทศที่ทำการผลิตไปยังนอร์เวย์ หรือ ในกรณีที่สินค้าส่งจากประเทศผู้ผลิตไปยังประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปหรือสวิตเซอร์แลนด์แล้ว จึงส่งต่อไปนอร์เวย์ให้ถือว่าเป็นการส่งตรงจากประเทศผู้ผลิตไปนอร์เวย์ โดยมีเงื่อนไขว่าสินค้าดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของศุลกากรสหภาพยุโรปหรือสวิตเซอร์แลนด์
4. ต้องไม่มีการดำเนินการใด ๆ กับสินค้านั้น มากไปกว่าการขนส่งขึ้น/ลงเรือ หรือการดำเนินการให้สินค้าอยู่ในสภาพดี
|
การขอใช้สิทธิ
|
ใช้ระบบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองของผู้ส่งออก (Registered Exporter system: REX) คลิกรายละเอียด
|
การขึ้นทะเบียนตนเองของผู้ส่งออก
|
1. กรอกใบสมัคร (Pre-Application Form) ในเว็บไซต์ https://customs.ec.europa.eu
2. กรอกคำขอขึ้นทะเบียน
3. ยื่นคำขอพร้อมใบสมัครและเอกสารของบริษัทมายังกองบริหารการนำเข้าและรับรองถิ่นกำเนิด กรมการค้าต่างประเทศ คลิกรายละเอียด
ทั้งนี้ ผู้ส่งออกต้อง 1) มั่นใจว่าสินค้าที่ส่งออกผลิตได้ถูกต้องตามกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า 2) เก็บเอกสารที่เกี่ยวกับวัตถุดิบและกระบวนการผลิตไว้อย่างน้อย 3 ปี และ 3) แจ้งเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ กรณีมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เช่น ชื่อ ที่อยู่ บริษัท ข้อมูลในการติดต่อ รายละเอียดสินค้าส่งออก ฯลฯ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมคลิก
|