เปลี่ยนการแสดงผล

ความตกลงเขตการค้าเสรี ไทย – อินเดีย

ความตกลงเขตการค้าเสรี  ไทย – อินเดีย
(Thailand – India Free Trade Agreement )

 

วัตถุประสงค์ เพื่อความร่วมมือในทางเศรษฐกิจระหว่าง ไทยและอินเดีย ที่จะขยายการค้าระหว่างกันโดยการปรับลดภาษีให้ต่ำลง และเป็นศูนย์ เพื่อเกิดการค้าอย่างเสรีในที่สุด
ระยะเวลา เริ่มมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2547
ขอบเขตของสินค้า
  • เริ่มแรก ไทยและอินเดียได้ตกลงรายการสินค้าที่จะนำเร่งลดภาษี เดิมจำนวน 82รายการ
  • ต่อมา ไทยและอินเดียตกลงเพิ่มรายการสินค้าตู้เย็นสองประตู (พิกัดฯ 841810) รายการสินค้าจึงรวมทั้งสิ้นเป็น 83 รายการ มีผลบังคับใช้ ณ 8 มิถุนายน 2555
การลดหย่อนภาษี ไทยและอินเดียได้นำสินค้ามาเร่งลดภาษีบางส่วน (Early Harvest Scheme: EHS) ซึ่งเป็นการลดภาษี MFN โดยลดภาษีเป็นอัตราร้อยละของอัตราที่เรียกเก็บ ใช้อัตราฐาน ณ 1 ม.ค. 47 วิธีการลดภาษีแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ
  • 1 ก.ย. 47 – 31 ส.ค. 48 ลดลงร้อยละ 50
  • 1 ก.ย. 48 – 31 ส.ค. 49 ลดลงร้อยละ 75
  • 1 ก.ย. 49 เป็นต้นไป ลดลงร้อยละ 100 (ภาษีเป็น 0)
กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า ภายใต้ข้อตกลง FTA ไทย-อินเดีย ไม่กำหนดให้ใช้กฎทั่วไป แต่จะใช้กฎเฉพาะรายสินค้า (PSRs) ที่แตกต่างกันไปในแต่ละสินค้า
(ตารางสินค้า 83 รายการและกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า)
กฎเฉพาะสินค้า (Product Specific Rules: PSRs) หลักเกณฑ์แหล่งกำเนิดสินค้าที่จะใช้ กับสินค้าเร่งลดภาษี 83 รายการ เป็นกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าชั่วคราว (Interim Rule of Origin) โดยเป็นกฎเฉพาะของสินค้า แต่ละรายการ (Specific Rule) มีหลักเกณฑ์ดังนี้
  1. กฎการผลิตหรือการได้มาจากวัตถุดิบในประเทศทั้งหมด (Wholly Obtained Goods) หรือ
  2. ผลิตตามหลักเกณฑ์การเปลี่ยนพิกัด (Substantial Transformation) หรือ
  3. ผลิตจากสัดส่วนของวัตถุดิบและต้นทุนการผลิตในประเทศต่อราคาส่งออก (Local Value Added Content) ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าร้อยละตามที่กำหนดในแต่ละสินค้า
(รายละเอียดกฎแหล่งกำเนิดสินค้า และระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า ภาษาอังกฤษ / ภาษาไทย)
การขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีภายใต้ FTA ไทย -อินเดีย สินค้าที่กำเนิดหรือผลิตได้ดังกล่าวข้างต้น จะต้องมีหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (ดูตัวอย่าง Form FTA) ไปแสดงต่อศุลกากรประเทศผู้นำเข้า

ความตกลงเขตการค้าเสรี  ไทย – อินเดีย
(Thailand – India Free Trade Agreement )

 

วัตถุประสงค์ เพื่อความร่วมมือในทางเศรษฐกิจระหว่าง ไทยและอินเดีย ที่จะขยายการค้าระหว่างกันโดยการปรับลดภาษีให้ต่ำลง และเป็นศูนย์ เพื่อเกิดการค้าอย่างเสรีในที่สุด
ระยะเวลา เริ่มมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2547
ขอบเขตของสินค้า
  • เริ่มแรก ไทยและอินเดียได้ตกลงรายการสินค้าที่จะนำเร่งลดภาษี เดิมจำนวน 82รายการ
  • ต่อมา ไทยและอินเดียตกลงเพิ่มรายการสินค้าตู้เย็นสองประตู (พิกัดฯ 841810) รายการสินค้าจึงรวมทั้งสิ้นเป็น 83 รายการ มีผลบังคับใช้ ณ 8 มิถุนายน 2555
การลดหย่อนภาษี ไทยและอินเดียได้นำสินค้ามาเร่งลดภาษีบางส่วน (Early Harvest Scheme: EHS) ซึ่งเป็นการลดภาษี MFN โดยลดภาษีเป็นอัตราร้อยละของอัตราที่เรียกเก็บ ใช้อัตราฐาน ณ 1 ม.ค. 47 วิธีการลดภาษีแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ
  • 1 ก.ย. 47 – 31 ส.ค. 48 ลดลงร้อยละ 50
  • 1 ก.ย. 48 – 31 ส.ค. 49 ลดลงร้อยละ 75
  • 1 ก.ย. 49 เป็นต้นไป ลดลงร้อยละ 100 (ภาษีเป็น 0)
กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า ภายใต้ข้อตกลง FTA ไทย-อินเดีย ไม่กำหนดให้ใช้กฎทั่วไป แต่จะใช้กฎเฉพาะรายสินค้า (PSRs) ที่แตกต่างกันไปในแต่ละสินค้า
(ตารางสินค้า 83 รายการและกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า)
กฎเฉพาะสินค้า (Product Specific Rules: PSRs) หลักเกณฑ์แหล่งกำเนิดสินค้าที่จะใช้ กับสินค้าเร่งลดภาษี 83 รายการ เป็นกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าชั่วคราว (Interim Rule of Origin) โดยเป็นกฎเฉพาะของสินค้า แต่ละรายการ (Specific Rule) มีหลักเกณฑ์ดังนี้
  1. กฎการผลิตหรือการได้มาจากวัตถุดิบในประเทศทั้งหมด (Wholly Obtained Goods) หรือ
  2. ผลิตตามหลักเกณฑ์การเปลี่ยนพิกัด (Substantial Transformation) หรือ
  3. ผลิตจากสัดส่วนของวัตถุดิบและต้นทุนการผลิตในประเทศต่อราคาส่งออก (Local Value Added Content) ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าร้อยละตามที่กำหนดในแต่ละสินค้า
(รายละเอียดกฎแหล่งกำเนิดสินค้า และระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า ภาษาอังกฤษ / ภาษาไทย)
การขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีภายใต้ FTA ไทย -อินเดีย สินค้าที่กำเนิดหรือผลิตได้ดังกล่าวข้างต้น จะต้องมีหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (ดูตัวอย่าง Form FTA) ไปแสดงต่อศุลกากรประเทศผู้นำเข้า